วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ม๊อบแดงสลาย รัฐประกาศเคอร์ฟิว - ห้ามออกจากบ้าน

วันนี้ที่ทำงานประกาศให้หยุด แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่น่าจะมีอะไร
ก็เลยไปทำงาน อิอิ ^_^
ไม่เงียบเหงาเพราะมียาม และแม่บ้านเยอะแยะเลย
แต่ทำได้ไม่นานนัก ก็ต้องถูกทางบ้านโทรเรียกตัวเก็บด่วน!
เพราะรถเมล์ ขสมก. จะไม่เดินแล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องรีบระเห็จ
ออกจากที่ทำงานอย่างเร่งรีบ พร้อมกับพวกแม่บ้าน
ที่เขาก็รีบกลับบ้านเหมือนกัน
แถมรถติดอย่างหนักด้วย ... กลายเป็นวันที่ชุลมุนที่สุด

แถมไอ้เพื่อนผู้หวังดี ดันโทร.มาชวนไปบวชชีช่วงเดือน ก.ย.53
มาถามเราเพื่อจะเอาชื่อไปลง
สำนักเดียวกับพี่สาวข้าพเจ้าไปปฏิบัติธรรมเลย
คุณแม่สิริ อะไรประมาณนั้น ...
แถมเพื่อนที่ทำงานหลายคนไปบวชด้วย
นี่สิ...เจอที่ทำงานแล้ว...
ไปเจอที่อื่นอีก เบื่อตายห่าาาาา! (อุ้ย!)
กลัวเจอไอ้พวกดีเทียม
และพวกเกาะเสียมากกว่า

พูดตรง ๆ เงี้ยะแหล่ะ ....
ถึงไม่มีใครคบ อิอิ ^__^

เพิ่มเติม :
เปิดคู่มือการใช้ชีวิตช่วง"เคอร์ฟิว"

14.00 น. วันนี้ ( 19 พ.ค. ) ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ออกประกาศกฎหมายว่าด้วยการจำกัดสิทธิส่วนบุคคล โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดต่อไปนี้

1. ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 20.00 น. วันที่ 19 พ.ค.2553 ถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 20 พ.ค. 2553( ประกาศเคอร์ฟิว)

2. ให้พนักงาน และเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ และระยะเวลาที่กำหนด

3. ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่กลับเข้าสู่เคหะสถาน และไม่ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการ ศอฉ.กำหนดพื้นที่ และรายละเอียดเพิ่มเติมตามสมควรแก่เหตุ.

ฉะนั้น ตั้งแต่ 2 ทุ่มคืนนี้เป็นต้นไป ชีวิตคนกรุงเทพ ต้องปรับเปลี่ยนเข้าสู่ภาวะเคอร์ฟิว จนถึง 6 โมงเช้า

ตามความหมายของคำว่า "เคอร์ฟิว" หมายถึง การห้ามออกจากเคหสถาน หรือ เคอร์ฟิว (curfew)
หมายถึง คำสั่งของรัฐบาลให้ประชาชนกลับเคหสถานก่อนเวลาที่กำหนด อีกนัยหนึ่งคือการห้ามประชาชนออกจากเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด (มักเป็นเวลากลางคืน) ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือให้ความสะดวกต่อการปราบปรามกลุ่มเป้าหมาย

คำว่า "เคอร์ฟิว" มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า couvre feu แปลว่า ดับไฟ (couvre = ดับ, feu = ไฟ) ซึ่งคำนี้ถูกนำมาใช้ในภาษาอังกฤษโดยสะกดว่า curfew

คำแนะนำในการใช้ชีวิต ช่วงเคอร์ฟิว มีดังนี้

1. ควรซื้ออาหาร แห้งและอาหารสดเก็บในตู้เย็นพอควร

2. เตรียมไฟฉาย และถ่านไฟฉาย เตรียมไว้ให้พร้อม

3. เติมน้ำมันรถยนต์ให้เต็ม

4. เตรียมเงินสด ติดตัวพอสมควร ( ไม่ต้องเก็บไว้มากเกินไป)

5. ควรเตรียมเสื้อผ้า ยาประจำตัว และอาหารแห้ง เตรียมไว้ในรถยนต์

6. ติดบัตรแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่

7 . เตรียมโทรศัพท์มือถือ บันทึกเบอร์โทรที่สำคัญ และชาร์ตแบตเตอรี่ให้พร้อม

อย่างไรก็ตามหากมีธุระจำเป็นต้องออกจากเคหะสถาน หรือ กำลังเดินทางไปต่างประเทศ หรือ กลับจากต่างประเทศ จะต้องเตรียเอกสารประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน บัตรประชาชน หรือหนังสืออนุญาต เพราะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารสำคัญ

และในกรณีที่มีธุระไม่จำเป็นเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาต และเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการกักไม่ให้เดินทางก็ได้

นอกจากนี้ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติควรจะบันทึกเบอร์สายด่วน หรือฮอตไลน์ใส่โทรศัพท์มือถือไว้ และโทรศัพท์ควรมีแบตเตอรรี่เต็มหรือมีแบตฯสำรอง

รวมสายด่วนสำคัญ เมมใส่มือถือไว้
สายด่วน ศอฉ.Tel. 02-551-1515
โทรฉุกเฉิน 199
ทางด่วน 1543
จราจร 1197
รถเมล์ 184
กทม. 1555
ฉุกเฉิน 1669

บทความจาก : มติชนออนไลน์


คิดแล้วเขียน :))V

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น